วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน
 เราลองจินตนาการดูว่า  เราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้   เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ  ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือสาระบันเทิง  เราใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน  ดูรายการทีวีหรือวีดิทัศน์  ระหว่างมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  ที่ศูนย์การค้าเราขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนที่มีการควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  ที่บ้านอาจมีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ  ทำอาหารด้วยเตาอบ  ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า  จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน

 ในอดีตยุคที่มนุษย์ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน   มีชีวิตที่เร่ร่อน   มีอาชีพเกษตรกรรม  ล่าสัตว์  ต่อมามีการรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง    และทำให้เกิดการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการปริมาณมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530  เป็นต้นมา  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง  ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน  เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว
นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                  คำว่า   เทคโนโลยี     หมายถึง    การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ    และการนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์    เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมาย กว้างไกล  เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา
 ส่วนคำว่า สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  เป็นจำนวนมาก     เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่    กฎเกณฑ์และวิชาการ
         ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ  การเรียกใช้  การประมวลผล  และการคิดคำนวณ  ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ  เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา  ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย  และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก  เครื่องจักร  อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์รอบข้าง  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่   ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน
    เมื่อรวมคำว่า เทคโนโลยีกับ สารสนเทศ  เข้าด้วยกัน  จึงหมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึง  เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ  การใช้  และการดูแลข้อมูล
    เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวาง   รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก  ดังนี้
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากก็มีการใช้เดินสอดำระบายตามช่องที่เลือกตอบ  เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้  เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code)  พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องอ่านรหัสแท่งเพื่ออ่านข้อมุลการซื้อสินค้า  เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน  การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล  จะเห็นได้ว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บได้หลายแบบ
2. การประมวลผล  ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  และเทป  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามความต้องการ  เช่น  แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม  เรียงลำดับข้อมูล  คำนวณ  หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น
        3. การแสดงผลลัพธ์  คือการนำผลจากการประมวลผลที่ได้  มาแสดงผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ   อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์มีมาก  สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ  รูปภาพ   ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ     การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ     เสียง  และวีดิทัศน์  เป็นต้น
        4. การทำสำเนา  เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  การทำสำเนาจะทำ
ได้ง่าย  และทำได้เป็นจำนวนมาก  อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำสำเนาจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศอีกประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  เรามีเครื่องพิมพ์  เครื่องถ่ายเอกสาร  อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  แผ่นบันทึก  ซีดีรอม  ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
        5. การสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ  ปัจจุบันมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท    ตั้งแต่โทรเลข  โทรศัพท์  โทรสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบของสื่อหลายอย่าง  เช่น  สายโทรศัพท์  เส้นใยนำแสง  เคเบิลใต้น้ำ  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ   และดาวเทียม
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดยพื้นฐานของเทคโนโลยี ย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้  แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก   ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีดังนี้
        1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ   ในระบบการจัดการขององค์กรทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและตัดสินใจ    ระบบธุรกิจจึงใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินการเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ  เช่น  ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น  เมื่อมีการพัฒนาระบบเก็บและใช้ข้อมูล  ทำให้การบริการต่างๆอยู่ในรูปแบบการบริการแบบกระจาย  ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน  สามารถถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์  นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
        3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ  ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร  ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล  ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีซึ่งในปัจจุบันองค์กรทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
        4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน  
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมมีมาก  มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวไว้ดังนี้
        1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น  มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน  เช่น  ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ  ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  เป็นต้น
        2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง  แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร  ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้  มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล  นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
        3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน  การเรียนการสอนในโรงเรียน มีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา
 จัดตารางสอน  คำนวณระดับคะแนน  จัดชั้นเรียน  ทำรายงาน  เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน  ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
        4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง  จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ  เช่น  การดูแลรักษาป่า  จำเป็นต้องใช้ข้อมูล  มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ  การพยากรณ์อากาศ  การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข  การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ  การตรวจวัดมลภาวะ  ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย  ที่เรียกว่า โทรมาตร  เป็นต้น
        5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ  กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี  อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม  มีการใช้ระบบป้องกันภัย  ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
        6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม  การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก  ราคาถูกลง  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก  มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ  การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า  เพื่อให้ซื้อสินค้าสะดวกขึ้น
     7. ความคิดและการสร้างสรรค์  เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน  และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕


ที่มา  http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=34
 

 
 

ประเภทของจดหมายธุรกิจ

ประเภทของจดหมายธุรกิจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือธุรกิจได้
2. สามารถอธิบายหนังสือธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้
3. บอกส่วนประกอบของหนังสือธุรกิจได้สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือธุรกิจได้
การเขียนจดหมาย เป็นวิธีการที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจดหมายสามารถสื่อความได้ละเอียด กว้างขวางและประหยัดค่าใช้จ่าย
หลักทั่วไปในการเขียนจดหมาย
๑. เขียนให้ถูกรูปแบบตามประเภทของจดหมายแต่ละชนิด
๒. ใช้คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนาม ให้เหมาะสมกับฐานะและความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เขียนจดหมายกับผู้รับ
๓. เขียนยศ ตำแหน่ง ของผู้รับหรือบุคคลที่กล่าวถึงให้ถูกต้อง
๔. เนื้อหาเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดต้องเขียนให้รัดกุม ชัดเจน นำหลักการเขียนที่ดีมาใช้ เรียบเรียงเนื้อความแต่ละย่อหน้า
๕. เขียนสะกดคำและใช้ถ้อยคำสำนวนถูกต้อง
๖. รักษาความสะอาดเรียบร้อย
๗. ใช้กระดาษและซองสีสุภาพ
๘. จ่าหน้าซองให้สมบูรณ์ชัดเจน ปิดไปรษณียากรตามระเบียบของไปรษณีย์
จดหมายธุรกิจ
คือ จดหมายที่เขียนติดต่อกันเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ เช่น เสนอขายสินค้าและบริการ สั่งซื้อสินค้า ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของสินค้าเป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการใช้ภาษาในระดับเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาปาก หรือภาษาพูด
ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
๑. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง
๒. สะดวกและรวดเร็ว
๓. ให้รายละเอียดของข้อมูลได้มาก ชัดเจนและมีระบบ
๔. ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ค้นเรื่องและเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้เป็นอย่างดี
๕. ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อสื่อสารเพื่อธุรกิจ ทั้งด้านการสร้างความสัมพันธ์ และการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและทันสมัย
ประเภทของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจสามารถแบ่งออกตามจุดประสงค์ของการเขียน ได้ ๒ ประเภท ดังนี้
๑. ประเภทให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่สั้น กระชับและตรงประเด็น ได้แก่ จดหมายสอบถามและจดหมายตอบสอบถาม จดหมายสั่งซื้อและจดหมายตอบการสั่งซื้อ จดหมายร้องเรียนและจดหมายตอบการร้องเรียน จดหมายแจ้งการขอเปิดบัญชี จดหมายเชิญ จดหมายขอบคุณ เป็นต้น
๒. ประเภทโน้มน้าวใจ มีจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม จดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายเสนอขาย จดหมายติดตามหนี้ จดหมายแนะนำบุคคล เป็นต้น
โครงสร้างของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจโดยทั่วไปประกอบด้วยโครงสร้าง ๓ ส่วน ดังนี้
๑. ส่วนต้น คือ ส่วนที่ระบุเหตุผลในการเขียนจดหมาย หรืออ้างอิงจดหมายที่เคยเขียนติดต่อกันมา เพื่อทำความเข้าใจกับผู้อ่าน อันจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของจดหมายได้ง่ายขึ้น
๒. ส่วนกลาง คือ ส่วนที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นและสำคัญ หรือวัตถุประสงค์ของการมีจดหมายมาถึงผู้อ่าน ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่แนบมาด้วย
๓. ส่วนท้าย คือ ส่วนที่เป็นข้อความลงท้ายจดหมายหรือสรุปจุดประสงค์ เช่น การกำหนดเวลา การกระทำที่ผู้อ่านต้องปฏิบัติ การแสดงไมตรีจิต ข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมการขาย โดยจะต้องสรุปให้ชัดเจน มีเหตุผลและส่งให้เกิดผลดีในทางปฏิบัติ ทั้งยังต้องยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย
รูปแบบของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจโดยทั่วไป มีส่วนประกอบที่ต้องเขียนตามรูปแบบของจดหมาย ดังนี้
๑. ที่อยู่ผู้ส่ง เป็นการระบุชื่อและที่ตั้งของบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการของเจ้าของจดหมาย เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าจดหมายมาจากที่ใด
๒. เลขที่จดหมาย/ปี พ.ศ. คือ การระบุเลขที่จดหมายและปีพุทธศักราชที่จัดทำจดหมายฉบับดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บเอกสารและอ้างอิงต่อไป (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)
๓. วัน เดือน ปี หมายถึง วันที่ เดือนและปีที่เขียนจดหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิง หรือการติดต่อกันในโอกาสต่อๆ ไป โดยต้องเขียนเฉพาะตัวเลข วันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราช
๔. ที่อยู่ผู้รับ คือ การระบุชื่อ ตำแหน่งและที่อยู่ผู้รับ รวมถึงรหัสไปรษณีย์ เพื่อประโยชน์ในการเก็บจดหมายไว้เป็นหลักฐาน อย่างไรก็ตาม การระบุที่อยู่ผู้รับนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนจดหมายเอง ซึ่งอาจระบุหรือไม่ก็ได้
๕. เรื่อง คือ สาระสำคัญสั้นๆ ของจดหมายฉบับนั้น เป็นส่วนให้ข้อมูลแก่ผู้รับ ก่อนที่จะอ่านเนื้อความในจดหมาย เพื่อให้พอทราบว่าจดหมายฉบับนั้นมีจุดประสงค์อย่างไร ควรมีความยาวประมาณ ๐.๕ - ๑ บรรทัด อาจถึง ๒ บรรทัด ก็ได้
๖. คำขึ้นต้น คือ การทักทายที่เป็นการเริ่มต้นจดหมาย นิยมใช้คำว่า เรียนแล้วตามด้วยตำแหน่ง หรือชื่อของบุคคลที่เขียนถึง
๗. สิ่งที่ส่งมาด้วย เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมที่ส่งไปพร้อมกับจดหมาย (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)
๘. เนื้อหาหรือใจความ หมายถึง ส่วนที่เสนอเนื้อหา หรือสาระสำคัญของจดหมายที่เขียนอาจมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้
๙. คำลงท้าย คือ การอำลาผู้อ่าน โดยทั่วไปนิยมใช้ ขอแสดงความนับถือทั้งนี้ต้องใช้ ให้สอดคล้องกับคำขึ้นต้น และถูกต้องตามระดับตำแหน่งของบุคคล
๑๐. ลายมือชื่อ คือ การลงลายมือชื่อของเจ้าของจดหมาย
๑๑. ชื่อเต็ม คือ ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าบอกสถานภาพ ตลอดจนตำแหน่ง โดยพิมพ์ไว้ใต้ลายมือชื่อภายในวงเล็บ
ข้อควรปฏิบัติในการพิมพ์จดหมายธุรกิจ
การพิมพ์จดหมายธุรกิจควรปฏิบัติดังนี้
๑. ใช้กระดาษอย่างดีสีขาว ขนาด ๘.๕ x ๑๑ นิ้ว หรือกระดาษมาตรฐาน เอ ๔
๒. ใช้กระดาษเพียงหน้าเดียว
๓. รักษาความสะอาด ระมัดระวังเรื่องรูปแบบ และการสะกดคำ
๔. เว้นที่ว่างขอบกระดาษด้านละ ๑.๕ นิ้ว
๕. ควรทำสำเนาจดหมายเก็บไว้ทุกฉบับ

ที่มา http://pattimaporn.blogspot.com/2009/01/blog-post_5717.html

การทำงานของจดหมาย

การทำงานของจดหมาย
รูปแบบจดหมายธุรกิจ (BUSINESS LETTER FORMAT)
จดหมายภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจที่นิยมเขียนกันนั้น แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ full-block form ,  block form และ modified block form ทั้งนี้ไม่ว่าเราจะใช้รูปแบบใดเขียนก็ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความถนัดและเคยชินของแต่ละท่านไป
1. รูปแบบ full-block
การเขียนจดหมายรูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากเนื่องด้วยเป็นรูปแบบที่สะดวก และรูปแบบจดหมายที่จดจำได้ง่าย สำหรับรูปแบบ full block เราจะจัดให้ข้อความอยู่ชิดซ้าย ดังรูป


2. รูปแบบ  block
รูปแบบนี้มีการปรับรูปแบบให้ต่างจากแบบ full block เล็กน้อย คือ หัวจดหมาย (ชื่อผู้ส่ง) วันที่ คำลงท้าย และลายเซ็น จะถูกจัดอยู่ทางขวาของกึ่งกลางกระดาษ

3. รูปแบบ modified block 
รูปแบบนี้จะคล้ายกับ block form แต่จะมีการใช้ย่อหน้าที่ตัว body หรือเนื้อหา โดยย่อหน้าจะต้องเคาะ 5 เคาะ

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology, IT) หมายถึงเทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทุกวันนี้โลกของเรามีเทคโนโลยีและความก้าวหน้าต่างๆ เกิดขึ้นมามากมาย คอมพิวเตอร์ กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ทุกบ้าน จนแทบจะเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องมือสื่อสารระหว่างกัน กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทุกวันนี้เรามีอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ไว้ใช้งานมากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน ระบบนำร่องติดรถยนต์ แท็บเล็ตฯ และอีกมากมายหลากหลายตัวอย่างที่ไม่ได้กล่าวอ้าง จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าในด้านการสื่อสารข้อมูล การนำเสนอสื่อมัลติมีเดีย หรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ระบบสารสนเทศ จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ลดเวลาในการทำงาน โดยการนำเอาเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลข้อมูลมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และยังสามารถจัดเรียง แก้ไข และสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว
- ลดต้นทุน เพราะระบบสารสนเทศนั้นสามารถจัดการกับงานที่มีความซับซ้อนได้รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น และต้นทุนในการดำเนินงาน รวมไปถึงค่าบุคลากรอีกด้วย
- ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทำให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็ว และการสื่อสารที่รวดเร็ว ก็สร้างความก้าวหน้าอีกมากมาย ทุกวันนี้เราสามารถติดต่อข้ามโลกได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ภายในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน
- ระบบสารสนเทศช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้ด้วยดี โดยช่วยในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพิ่มความสะดวกในการสื่อสารข้อมูล จัดเรียง สืบค้นข้อมูล และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ประสิทธิผลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ เนื่องจากระบบสารสนเทศ สามารถประมวลผลและทำการแสดงผลข้อมูลได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การจัดการทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
- เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าต่างๆ ในยุคปัจจุบันที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ล้วนอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน และทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
- สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยปัจจุบันมีองค์กร หรือ บริษัทต่างๆ จำนวนมากที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ ไอที ไปใช้ในการดำเนินงานในส่วนต่างๆ ร่วมทั้งการวิเคราะห์ต้นทุน กำไร จุดแข็ง จุดอ่อน ซึ่งหากองค์กรใดรู้จักประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมได้ จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้มาก
 ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

ที่มา  http://www.itexcite.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
 อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
   1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
    2.การขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)
เป็นบริการอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
    3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol
หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
    4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข้อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
    5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet)
เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
    6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
    7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
    8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น
โทษของอินเตอร์เน็ต
1.โรคติดอินเตอร์เน็ต(Webaholic)
การเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้เสียงาน ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
 • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
 • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
 • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
 • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
 • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
 • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
 • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
 • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
 • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
2.เรื่องอาณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเตอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
………………………………………………………………………………………………………………..
ที่มา  http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=4691